วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

การสืบค้นข้อมูล

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชม เนื้อหา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนะคะ หากข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ทีนี้ด้วยค่ะ
การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ



การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ

1. ความหมายการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ

     การสืบค้นสารสนเทศ (Information retrieval) คือ กระบวนการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือสืบค้น   สารสนเทศที่สถาบันบริการสารสนเทศจัดเตรียมไว้ให้ 

     การสืบค้นสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

           1. การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบมือ (Manual system)

           2. การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer system)


          การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบมือ สามารถกระทำได้โดยผ่านเครื่องมือหลายประเภท เช่น บัตรรายการ บัตรดรรชนี  วารสาร บรรณานุกรม เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะบัตรรายการและ บัตรดรรชนีวารสารเท่านั้น


          การสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สามารถกระทำได้โดยผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

            ในการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่

                          1.ฐานข้อมูลโอแพ็ก
                          2.ฐานข้อมูลซีดีรอม
                          3.ฐานข้อมูลออนไลน์
                          4.ฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต


2. ประเภทของการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ      
                                                                                                                                                    ข้อมูลสารสนเทศที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตมีมากมายหลายประเภทมีลักษณะเป็นมัลติมีเดีย คือมีทั้งที่เป็นข้อความ(Text)   ภาพวาด(Painting)ภาพเขียนหรือภาพลายเส้น (Drawing)  ภาพไดอะแกรม (Diagram)  ภาพถ่าย (Photograph)  เสียง(Sound) เสียงสังเคราะห์ เช่น   เสียงดนตรี (Midi)   ภาพยนตร์ (Movie)   ภาพเคลื่อนไหวอะนิเมชัน (Animation)   จากเทคโนโลยีการสืบค้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน การสืบค้นที่เร็วที่สุดมีประสิทธิภาพที่สุด และแพร่หลายที่สุด คือ การสืบค้น  ข้อมูลสารสนเทศประเภทข้อความ สําหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็น ภาพ(Pattern Recognition) และเสียง ยังมีข้อจํากัดอยู่  มากใช้เวลานาน และยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงยังไม่มีการสืบค้นประเภทอื่นๆ นอกจากประเภทข้อความในการให้บริการการ สืบค้นบนอินเทอร์เน็ต         
                                                  
3.ประเภทของ Search Enging

1. แบบอาศัยการเก็บข้อมูลเป็นหลัก (Crawler-Based Search Engine) 
2. แบบสารบัญเว็บไซต์ (Web Directory) 
3. แบบอ้างอิงในคำสั่ง Meta Tag (Meta Search Engine )                                                                               

4.ประโยชน์ของ Search Enging

1.ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวกรวดเร็ว                                                                                   
2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย           
3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์ เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์เป็นต้น                                                                                                  
4.มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล                                                                                 
5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย

5.การสืบค้นข้อมูลด้วย Google


1.Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature. Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ) 

2.การใช้ OR    (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris 

3.Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำ พวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature final fantasy +x 

4.Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย 

5.Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนดรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยว กับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF 

6.การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV" 

7.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะ ช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword 

8.Google สามารถค้นหาเวปที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเวปเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu

9.สามารถคำนวนเลขได้โดยการพิมพ์โจทย์เลขลงไปในช่อง Search เช่น 52869-8956 หรือ 562475+8422 แล้วกด enter และยังสามารถแปลงค่าต่างๆ เช่น จากไมล์เป็นกิโลเมตร หรือจากเซนติเมตรเป็นนิ้วได้ แค่ใส่ลงไป เช่น ใส่ว่า 130 miles to kilometer ก็จะได้ผลออกมาเป็นกิโลเมตร เป็นต้น

10.สามารถแปลงค่าเงินได้ โดยใส่ลงไปในช่องค้นหาว่า 50 USD to baht ก็จะได้อัตราแลกเปลี่ยนเงินจากดอลลาร์เป็นบาท หรือจะเป็นค่าอื่น ก็แค่เปลี่ยนสกุลเงิน แล้วตามท้ายว่า To baht ก็จะได้อัตราแลกเปลี่ยน 


            https://youtu.be/O2_zVFsacIs


วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563

การสื่อสารไทย

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชม เนื้อหา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนะคะ หากข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ทีนี้ด้วยค่ะ

ประวัติของการสื่อสารคมนาคม

ประวัติศาสตร์โทรคมนาคมไทย
               






                เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2552 นับเป็นวันสำคัญของวงการสื่อสารไทย คือวัน "การสื่อสารแห่งชาติ" การสื่อสารเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทยในสมัย รัชกาลที่ 3 ในช่วงที่บ้านเมืองปลอดจากภัยสงคราม

  การสื่อสารเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ช่วงที่บ้านเมืองปลอดจากภัยสงคราม การเมืองภายในประเทศมีเสถียรภาพมั่นคง โดยวัตถุประสงค์ของการสื่อสารในยุคนั้น ก็เพื่อนำมาสนับสนุนกิจการด้านงานความมั่นคงของประเทศ ซึ่งยุคนั้นเรียกได้ว่า เป็นยุคเริ่มล่าอาณานิคมของชาติมหาอำนาจทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส ต่างแย่งชิงผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ด้วยกัน และอารยะธรรมตะวันตกเริ่มหลั่งไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์


การติดต่อข่าวสารกันของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีการที่หลากหลายตามยุคสมัย เริ่มที่การสื่อสารที่เรียกว่า "ม้าเร็ว" นี้ นับว่าดีทีเดียว คือไม่ล่าช้า ทั้งยังส่งข่าวได้ทันใจ ซึ่ง ชาวจีนโบราณมีการพัฒนาระบบการส่งข่าวทางไกลให้ คล่องตัวตลอดมา โดย
ระบบเฟื่องสุดขีดในช่วงที่มองโกลมาจัดการ แต่จริงๆ แล้วมีการพัฒนากันมานานก่อนหน้านั้นเป็น 100 ปี ต่อมาเกิด "นกพิราบสื่อสาร" ขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 การสื่อสารระหว่างทหารที่ออกรบในสมรภูมิกับศูนย์บัญชาการ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก ถ้าจะใช้ทหารเดินเท้าในการส่งข่าว ไหนจะต้องหลบหลีกให้พ้นสายตาข้าศึก และต้อง เผชิญอุปสรรคนานัปการ ทั้งภูมิอากาศและภูมิประเทศที่กันดาร นกพิราบสื่อสาร จึงถูกนำมาใช้ในการส่งข่าวสารจากสมรภูมิกลับสู่บ้านเกิด ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการ


ส่วนโรมันมีระบบที่ละเอียดซับซ้อนในการติดต่อส่งข่าวสารเช่นเดียวกัน เรียกเป็นภาษาโรมันว่า "เคอร์ซัส พับลิคัส" ระบบของโรมันนี้นับว่าฉลาดไม่น้อย คือใช้แบบส่งเป็นทอด หรือวิ่งผลัด ซึ่งทำให้ การส่งข่าวสารผ่านตลอดทั่วแดนได้โดยง่าย มีความสะดวก คล่องตัวขึ้น รวมทั้งมีการตรวจ ตราอย่างเข้มงวด มีเครือข่ายโยงใยในระบบตรวจสอบของรัฐ ซึ่งจะการันตีเรื่องความแม่นยำ และ ความน่าเชื่อถือในเรื่องของหลวงได้ดีด้วย แม้ตอนที่อาณาจักรโรมันแตก ระบบเคอร์ซัส พับลิคัส นี้ยัง ยืนหยัดใช้กั
นอยู่

จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงเจริญรอยตามพระราชบิดาในการปฏิรูปประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหากษัตริย์ผู้วางรากฐานกิจการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศไทย พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการสื่อสารว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ และเพื่อบำบัดทุกข์ราษฎรในพื้นที่ห่างไกล ตลอดจนสนับสนุนงานด้านความมั่นคงของชาติ แรกทีเดียวนั้นการสื่อสารอยู่ในรูปไปรษณีย์พิเศษ ซึ่งเป็นหนังสือที่จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในบบพระบรมมหาราชวัง และเขตบบพระนครชั้นใน โดย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ และเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2424 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งการไปรษณีย์



"กรมไปรษณีย์" ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 สิงหาคม 2426 มีที่ทำการไปรสะนียาคารแห่งแรก ที่ ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลราชบูรณะ และอาคารในพระราชอุทยานสราญรมย์ "กิจการโทรเลข" ถือเป็นเทคโนโลยีโทรคมนาคมอันทันสมัยรวดเร็วที่สุดในยุคนั้น นับตั้งแต่มีการวางสายโทรเลขเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2418 กรุงเทพฯ ไป สมุทรปราการ เพื่อใช้ในงานราชการ และเปิดให้บริการสำหรับประชาชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2426 อัตราค่าบริการ "คำละ 1 เฟื้อง" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเป็น "กรมโทรเลข" อีกกรมหนึ่ง และมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการกรมโทรเลขอีกตำแหน่งหนึ่ง จากนั้นกลาโหมได้เริ่มมีการนำโทรศัพท์เข้ามาและมอบให้กรมโทรเลขดูแลต่อ


นายขจรศักดิ์ สิงหเสนี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (สายงานกลยุทธ์องค์กร) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจุบันโทรเลขยุติการใช้งานไปอย่างเป็นทางการทั่วประเทศแล้ว เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2551 รวมระยะเวลาในการให้บริการมากว่า 133 ปี (พ.ศ. 2418-พ.ศ. 2551)สาเหตุเพราะทนแบกรับค่าใช้จ่ายเดือนละ 25 ล้านบาท เพื่อจ้างบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้เป็นผู้ให้บริการไม่ไหว ทั้งเป็นกิจการที่ไม่ทำกำไรและมีผู้ใช้บริการโทรเลขลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา บริการโทรเลขเคยมียอดผู้ใช้สูงสุดอยู่ที่ปีละ 3 ล้านฉบับ หรือเฉลี่ยเดือนละ 2.5 แสนฉบับ แต่ปัจจุบันมียอดใช้งานวันละไม่ถึง 100 ฉบับ หรือประมาณปีละ 4,000 ฉบับ และมีรายได้เพียงเดือนละ 5,000 บาท  โดยข้อความในโทรเลขส่วนใหญ่เป็นจดหมายทวงหนี้


ในยุคปัจจุบันการสื่อสารถูกพัฒนาเพื่อให้ทันกับโลกยุคโลกาภิวัฒน์ การส่งจดหมายรูปแบบเดิมๆ ถูกปรับเปลี่ยนไป เป็นรูปแบบของอี-เมล์ (E-Mail) คือ ไปรษณีย์อีเลคโทรนิคส์ เป็นเครื่องมือสำหรับติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายที่เรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" ด้วยวิธีการส่งข้อความไปหาผู้อื่น ไปยังผู้รับปลายทาง และสามารถทำการแนบไฟล์เอกสาร หรือรูปภาพต่างๆ เพื่อส่งไปยังปลายทางได้อีกด้วย จึงทำให้เพิ่มความ สะดวกสบายได้มากขึ้นและอีกหนึ่งการสื่อสารของไทย คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นอีกด้วย 


     อ้างอิง: https://www.thairath.co.th/news/tech/26636
                 https://youtu.be/WAVE8edZ5SI

IT

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชม เนื้อหา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนะคะ หากข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ทีนี้ด้วยค่ะ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
information technology



ความหมาย


   ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทเป็นอย่างมาก เช่น มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูล หรือรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ตลอดใช่โทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile phone) หรือโทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเข้ามาใช้งานในทุกระดับชั้นขององค์กร
 คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology: IT ) เรียกย่อว่า"ไอที"ประกอบด้วยคำว่า"เทคโนโลยี"และคำว่า"สารสนเทศ" นำมารวมกันเป็น"เทคโนโลยีสารสนเทศ" และคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( Information and Communication Technology: ICT ) หรือเรียกย่อว่า"ไอซีที"ประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้
         เทคโนโลยี( Technology ) หมายถึง การนำความมรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการและกระบวนการ 
            สารสนเทศ( Information ) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ 
           เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็วโดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 หมายถึง เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูล และการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือการประมวลผล 

วิวัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศ



เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศมากที่สุด คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งมีวิวัฒนาการการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ดังนี้
ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล(Data Processing Era)
                 -ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของงานประจำ
            ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information System)
                 -มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยในการตัดสินใจดำเนินการในด้านต่างๆ
            ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ(Information Resource Management)
                -การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเน้นถึงการใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
            ยุคที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคไอที(Information Technology Era)
              -ความเจริญของเทคโนโลยีมีสูงมาก มีการขยายขอบเขตการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


        เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

           1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทำให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ ในระบบการจัดการขององค์กรทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและตัดสินใจ จึงต้องใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการดำเนินการ เช่น ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems) เป็นต้น
             2. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การบริการกว้างขวางครอบคลุมทั่วประเทศจนถึงทั่วโลก เมื่อมีการพัฒนาระบบเก็บและใช้ข้อมูล ทำให้การบริการต่าง ๆ กว้างขวางขึ้น เช่น การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) การสอบถามตารางการบิน เป็นต้น
         3. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การดำเนินการในหน่วยงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่าง ๆ พัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในองค์กร เช่น ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบเวชทะเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี เป็นต้น
       4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น การพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ เป็นต้น

ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



ผลกระทบในทางบวก

    ปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่การปฏิวัติเพื่อเข้าสู่ยุคสารสนเทศ การสื่อสารที่ให้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็วจนทำให้โลกมีลักษณะที่ไร้พรมแดน สิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบในทางที่ดีหรือทางบวกต่อสังคมโดนตรง เช่น

1.) ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ 

  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ทำให้ติดต่อถึงกันได้สะดวก มีระบบคมนาคมขนส่งได้รวดเร็ว สามารถใช้โทรศัพท์ในขณะเดินทางไปมายังที่ต่างๆ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์  มีการแพร่กระจายสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม สามารถรับรู้ข่าวสารต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็ว

2.) ช่วยทำให้การผลิตอุตสาหกรรมได้ดีขึ้น

     ระบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันเป็นระบบที่ต้องการผลิตสินค้าจำนวนมาก มีคุณภาพมาตรฐาน การผลิตในสมัยปัจจุบันใช้เครื่องจักรทำงานอย่างอัตโนมัติสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงปัจจุบันมีควาพยายามที่จะสร้างหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีผลต่อการผลิตมาก

   3.) ช่วยส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยใหม่ 

       เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยค้นคว้างานวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัยต่างๆ มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น ปัจจุบันงานค้นคว้าวิจัยทุกแขนงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณต่างๆ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ในการจำลองรูปแบบของสิ่งที่มองไม่เห็นตัว ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก สามารถค้นหางานวิจัยที่มีผู้เคยทำไว้แล้วและที่เก็บไว้ในห้องสมุดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

4.) ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

         คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้มีกิจกรรมทางด้านแพทย์เจริญก้าวหน้าขึ้นอีกมาก ปัจจุบันเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ล้วนแล้วแต่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการดำเนินการ

   5.) ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ 

      คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนรู้ของมนุษย์ได้ดีปัจจุบันมีการนำบทเรียนมาไว้ในคอมพิวเตอร์เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ยังเป็นเครื่องมือที่ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลข่าวสารผ่านทางเครือข่าย สามารถเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์หรือเรียนจากที่ห่างไกลได้

   6.) เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง

      การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเรื่องที่จำเป็นต่ออุสาหกรรม กิจการค้า ธุรกิจต่างๆ กิจการทางด้านธนาคารช่วยส่งเสริมงานทางด้านเศรษฐกิจทำให้กระแสเงินหมุนเวียนได้อย่างกว้างขวาง ผู้ผลิตในสายอุตสาหกรรมจะผลิตสินค้าได้มาก ลดต้นทุน ธุรกิจโดยรวมจำเป็นต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน มีการสื่อสารเกี่ยวข้องกันเกิดระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

   7.) ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
    การสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ช่วยย่นย่อโลกให้เล้กลงโลกมีสภาพไร้พรมแดน มีการเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกันมากขึ้น เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ดี ทำให้ลดปัญหาในเรื่องความขัดแย้งสังคมไร้พรมแดนทำให้มีความเป็นอยู่แบบรวมกลุ่มประเทศมากขึ้น

   ผลกระทบในทางลบ

    ตั้งแต่เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างกว้างขวาง การใช้เทคโนโลยีไปในด้านต่างๆ ซึ่งแน่นอนย่อมต้องมีทั้งคุณและโทษ ภาพยนตร์หลายเรื่องได้สะท้อนความคิดของการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ทางลบ  

  1.) ทำให้เกิดอาชญากรรม 

       เทคโนโลยีสารสนเทศมารถนำมาใช้ในการก่อให้เกิดอาชญากรรมได้มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเขบัญชี การแก้ไขระดับคะแนนผู้เรียนการแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตกรรม

   2.) ทำให้เกิดความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย

        ารใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัวการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกม มีลักษณะ การใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่ามนุษยสัมพันธ์ของบุคคลจะลดน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพากันมาก

   3.) ทำให้เกิดความวิตกกังวล

        ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่าคอมพิวเตอร์อาจทำให้เกิดการจ้างงานน้อยลง มีการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้นมีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานอาจตกงาน หรือหน่วยงานอาจเลิกว่าจ้างได้

   4.) ทำให้เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ

        ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้าข้อมูลสินค้าและบริการต่างๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูล อันเนื่องมาจากเหตุอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้ข้อมูลสูญหายหมด ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจได้

    5.) ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว

           คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งการนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้จริยธรรมการคอมใช้พิวเตอร์ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญผู้สร้างเว็บไซต์หรือสร้างข้อมูลข่าวสารในเรื่องภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นภาพอนาจารหรือภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย การดำเนินการเช่นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้ดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงระบบจดหมาย เพื่อส่งจดหมายถึงผู้อื่นโดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จ


อ้างอิง:     https://sites.google.com/site/patcharin2584/phlk-ra-thb-khxng-kar-chi-thekhnoloyi-sarsnthes
                    https://sites.google.com/site/kroonom/laksna-sakhay-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes                                     
                    https://www.youtuเbe.com/watch?v=WtWf5B0p8rA

การสืบค้นข้อมูล

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชม เนื้อหา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนะคะ หากข้อมูลผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ทีนี้ด้วยค่ะ การสืบค้นข้อมูลส...